เมนู

มีวัตถุ 10 อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ 10 ทิฏฐิ ความไปคือทิฏฐิ รกเรี้ยว
คือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ
เครื่องประกอบคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความยึดมั่น ความยึดถือ
ทางผิด คลองผิด ความเป็นผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือโดยแสวงหาผิด
ความถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือว่าแน่นอน ว่าจริง
ในสิ่งที่ไม่จริงอันใด เห็นปานนี้ และทิฏฐิ 62 มีประมาณเท่าใด นี้ชื่อว่า
ความอาศัยด้วยทิฏฐิ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงละความอาศัยด้วยตัณหา สละ
คืนความอาศัยด้วยทิฏฐิ เพราะทรงละความอาศัยด้วยตัณหา สละคืนความ
อาศัยด้วยทิฏฐิ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่อาศัย ไม่อิงอาศัย ไม่พัวพัน
ไม่เข้าถึง ไม่ติดใจ ไม่น้อมใจถึง เป็นผู้ทรงออกไป สละ พันขาด ไม่เกี่ยว
ข้องซึ่งจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
(ธรรมารมณ์) สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ
กาม รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนรสัญญานาสัญญาภพ
เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน
รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ทรงเป็นผู้
มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระพุทธเจ้าพระองค์
นั้น เป็นผู้ไม่อาศัย.


ว่าด้วยผู้คงที่โดยอาการ 5


[896] คำว่า ผู้คงที่ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็น

ผู้คงที่โดยอาการ 5 คือ เป็นผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ 1 เป็นผู้
คงที่ เพราะอรรถว่า สละแล้ว 1 เป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่า ข้ามแล้ว 1
เป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่า พ้นแล้ว 1 เป็นผู้คงที่ เพราะทรงแสดงออก
ซึ่งธรรมนั้น ๆ 1.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐา-
รมณ์ อย่างไร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้คงที่แม้ในลาภ แม้ใน
ความเสื่อมลาภ แม้ในยศ แม้ในความเสื่อมยศ แม้ในสรรเสริญ แม้ใน
นินทา แม้ในสุข แม้ในทุกข์ หากว่า ชนทั้งหลายพึงลูบไล้พระพาหา
ข้างหนึ่งแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเครื่องหอม พึงถากพระพาหาข้างหนึ่ง
ด้วยมีด พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมไม่ทรงมีความยินดีในการลูบไล้ด้วยเครื่อง
หอมโน้น และไม่ทรงมีความยินร้ายในการถากด้วยมีดโน้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงละความยินดีและความยินร้ายเสียแล้ว ทรงล่วงเลยความ
ดีใจและความเสียใจแล้ว ทรงก้าวล่วงความพอใจและความพิโรธเสียแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ในอิฐารมณ์และอนิฐารมณ์อย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่า สละแล้ว.
อย่างไร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสละ คาย ปล่อย ละ สละคืนราคะ
โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความดีเสมอ
ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง
ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลส
ทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง
ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า
เป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่า สละแล้ว อย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่า ข้ามแล้วอย่าง
ไร ? พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงข้าม คือ ข้ามขึ้น ก้าวล่วง ก้าวล่วงด้วย
ดี ล่วงเลยแล้ว ซึ่งกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ และ
คลองแห่งสงสารทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงอยู่จบแล้ว ทรงประ-
พฤติจรณะแล้ว ดำเนินถึงทางไกลแล้ว ดำเนินถึงทิศแล้ว ดำเนินถึงที่สุด
แล้ว ทรงรักษาพรหมจรรย์แล้ว ทรงบรรลุอุดมทิฏฐิแล้ว เจริญมรรคแล้ว
ละกิเลสแล้ว มีการแทงตลอดมิได้กำเริบ มีนิโรธอันทำให้แจ้งแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดรู้ทุกข์ ทรงละสมุทัย ทรงเจริญมรรค ทรง
ทำให้เเจ่มแจ้งซึ่งนิโรธ ทรงรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ทรงกำหนดรู้ธรรมที่
ควรกำหนดรู้ ทรงละธรรมที่ควรละ ทรงเจริญธรรมที่ควรเจริญ ทรง
ทำให้เเจ่มแจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ่มแจ้ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรง
ถอนอวิชชาอันเป็นดุจลิ่มสลักออกแล้ว ทรงเรี่ยรายกรรมอันเป็นดังคูเสีย
แล้ว ทรงถอนตัณหาเป็นดังเสาระเนียดขึ้นแล้ว ไม่มีสังโยชน์เป็นบาน-
ประตู เป็นผู้ไกลจากกิเลสเป็นข้าศึก มีมานะเป็นดุจธงอันตกไปแล้ว
ทรงปลงภาระเสียแล้ว มีโยคกิเลสมิได้เกี่ยวข้อง มีองค์ 5 อันละเสียแล้ว
ประกอบด้วยองค์ 6 มีสติเป็นธรรมเอกเครื่องรักษา มีธรรมเป็นเครื่อง
อาศัย 4 มีทิฏฐิสัจจะเฉพาะอย่างหนึ่งอันทรงบรรเทาเสียแล้ว มีการ
แสวงหาอันชอบไม่หย่อนอันประเสริฐ มีความดำริมิได้ขุ่นมัว มีกายสังขาร
อันระงับแล้ว มีจิตพ้นดีแล้ว มีปัญญาพ้นดีแล้ว เป็นผู้มีความบริบูรณ์
มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว เป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ถึงความบรรลุ
เป็นอย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมิได้ก่อ มิได้กำจัด กำจัดดำรงอยู่แล้ว
มิได้ละ มิได้ถือมั่น ละแล้วดำรงอยู่ มิได้เย็บ มิได้ยาก เย็บแล้วดำรงอยู่

มิได้ดับ มิได้ให้ลุก ดับแล้วดำรงอยู่ ดำรงอยู่เพราะเป็นผู้ประกอบด้วย
ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์
เป็นอเสขะ แทงตลอดอริยสัจแล้วดำรงอยู่ ก้าวล่วงตัณหาอย่างนี้แล้วจึง
ดำรงอยู่ ดับไฟกิเลสแล้วดำรงอยู่ ดำรงอยู่เพราะไม่ต้องไป ยึดถือเอายอดชัย
แล้วดำรงอยู่ ดำรงอยู่ในความซ่องเสพวิมุตติ ดำรงอยู่ด้วยความเมตตา
กรุณา มุทิตา อุเบกขาอันบริสุทธิ์ ดำรงอยู่ด้วยความบริสุทธิ์โดยส่วนเดียว
ดำรงอยู่ในความเป็นผู้ไม่แข็งกระด้าง ด้วยตัณหา ทิฏฐิ มานะ อันบริสุทธิ์
ดำรงอยู่เพราะเป็นผู้หลุดพ้น ดำรงอยู่เพราะเป็นผู้สันโดษ ดำรงอยู่ใน
ส่วนสุดรอบแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร
วัฏฏะ ดำรงอยู่ในภพอันมีในที่สุด ดำรงอยู่ในอัตภาพอันมีในที่สุด ทรง
ไว้ซึ่งร่างกายมีในที่สุด.
สมจริงดังประพันธ์คาถาว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีภพนี้เป็นที่สุด มีอัตภาพนี้
เป็นทีหลัง มิได้มีชาติ มรณะและสงสาร ไม่มีภพใหม่.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าคงที่ เพราะอรรถว่า ข้ามแล้วอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่า พ้นแล้วอย่าง
ไร ? พระทัยของพระมีผู้พระภาคเจ้าพ้นแล้ว พ้นวิเศษ พ้นดีแล้ว จากราคะ
โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ
ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความ
แข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง
ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความ

เดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็น
ผู้คงที่ เพราะอรรถว่า พ้นแล้วอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกซึ่งธรรม
นั้น ๆ อย่างไร ? พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออก
ว่า เป็นผู้มีศีล ในเมื่อศีลมีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่า เป็น
ผู้มีศรัทธา ในเมื่อศรัทธามีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่า
เป็นผู้มีวิริยะ ในเมื่อวิริยะมีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่า
เป็นผู้มีสติ ในเมื่อสติมีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่า เป็น
ผู้มีสมาธิ ในเมื่อสมาธิมีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่า เป็น
ผู้มีปัญญา ในเมื่อปัญญามีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่า
เป็นผู้มีวิชชา 3 ในเมื่อวิชชามีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่า
เป็นผู้มีอภิญญา 6 ในเมื่ออภิญญามีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดง
ออกว่า เป็นผู้มีพละ 10 ในเมื่อพละมีอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็น
ผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกซึ่งธรรมนั้น ๆ อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ซึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไม่อาศัย ผู้คงที่.

ว่าด้วยวัตถุแห่งความหลอกลวง 3 อย่าง


[897] ชื่อว่า ผู้ไม่ทรงหลอกลวง ในคำว่า ผู้ไม่หลอกลวง
ผู้มาเป็นพระคณาจารย์
มีอธิบายว่า วัตถุแห่งความหลอกลวง 3 อย่าง คือ
วัตถุแห่งความหลอกลวงกล่าวด้วยการซ่องเสพปัจจัย 1 วัตถุแห่งความ
หลอกลวงกล่าวด้วยอิริยาบถ 1 วัตถุแห่งความหลอกลวงกล่าวด้วยการพูด
เลียบเคียง 1.